ศาสนูปถัมภก ของ ปั้น อุปการโกษากร

มารดาของท่านปั้น ท่านผู้หญิงสุทธิ์ เป็นผู้สร้างพระอุโบสถที่วัดแจ้งและวัดศาลาหัวยาง และยังได้สร้างอุโบสถวัดสุทธิวราราม โดยมีท่านปั้นและครอบครัวเป็นผู้อุปัฏฐากวัดดังกล่าวต่อมาโดยตลอด ภายหลังที่ท่านปั้นถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2451 ด้วยโรคฝีที่ข้อศอกข้างซ้าย ทายาทได้รวบรวมทุนทรัพย์สร้างโรงเรียนขึ้นในที่ดินเดิมของท่านปั้นที่ได้ยกให้แก่วัด ชื่อว่า "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม"[1]

พระราชนิยมในการสร้างโรงเรียนแทนวัดของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระดำริว่า

"...ตกลงกันเห็นว่า สถานที่ศึกษาเปนสิ่งสำคัญอันเปนประโยชน์ให้กุลบุตร์ได้อาศรัยเล่าเรียน ซึ่งเปนเวลาต้องการของบ้านเมืองด้วย และเมื่อปั้นยังมีชีวิตอยู่ได้เปนมรรคนายิกาวัดสุทธิวรารามตลอดมาจนถึงแก่กรรม จึงคิดสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดนี้ ..เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้ใช้สถานที่นี้กระทำการฌาปนกิจศพปั้น แต่เมื่อเดือนพฤษภาคมศกนี้แล้ว แลได้มอบตึกหลังนี้แก่กรมศึกษาธิการใช้เปนสถานศึกษาตามที่เจตนาไว้ กรมศึกษาธิการได้รับแลเปิดใช้เปนโรงเรียนชั้นมัธยม เรียกว่า โรงเรียนมัธยมพิเศษวัดสุทธิวราราม” รับนักเรียนเข้าเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐ เปนต้นไป บรรดาผู้ที่ออกทรัพย์ก่อสร้างโรงเรียนขอพระราชทานถวายพระราชกุศล"

[2]

ภายหลังยังได้มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้กระทรวงธรรมการเชิญกระแสพระราชดำริและพระราชนิยมว่าด้วยเรื่องสร้างโรงเรียนแทนวัดออกประกาศให้มหาชนได้ทราบทั่วกันด้วย นอกจากนั้นที่ดินถนนหนึ่งที่ตัดกับถนนสีลมคือถนนปั้นก็ตั้งชื่อตามท่านปั้นตามที่ดินเก่าของท่าน[3] ซึ่งภายหลังได้แลกที่ดินกับนายนารายเจติ และนายโกบาระตี ที่ดินเพื่อตั้งศาสนสถานถาวรคือวัดพระศรีมหาอุมาเทวี[4]